วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปผลการเรียนครั้งที่ 3 (25/08/58)


มีพวกพี่ๆมาแนะนำในเรื่องการหาที่ฝึกงานตอนปี 4 ในเว็ป Buffohero และให้สร้างโปรไฟล์ของตัวเอง

การบ้าน
อาจารย์ให้แปลข่าวเกี่ยวกับอัตลักษณ์พร้อม present คนละ 3 เรื่อง
อาจารย์อธิบายการใช้งานจากอัตลักษณ์ที่เราออกแบบทำ mood bord ขนาด 50*70 นิ้ว ขนาดอีกอัน 20*30 นิ้ว

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 (18 สิงหาคม 2558)

-พรีเซ็นท์ข้อมูลสมุนไพรที่แต่ละกลุ่มหามาได้ พร้อมกับบอกปัญหาของผลิตภัณฑ์ของเราว่าควรแก้ไขตรงไหนอย่างไรบ้าง
-ใช้หลักการ 3 ส. 
ส.1 (สืบค้น) 
ส.2 (สร้างสรรค์และสมมติฐาน) 
ส.3 (สรุปผล)
       บล็อคจะต้องตั้งชื่อว่า ชื่อวิชา-ชื่อเรา.blogger.com ชื่อบล็อคจะต้องตรงกับชื่อตัวเอง คือ artd3302-metinee.blogger.com ข้างล่างคือคำอธิบาย คือผู้สอน เว็บบล็อคผลการเรียนรู้วิชา.....โดย.....ของอาจารย์คือผลการเรียนรู้ ใช้เทมเพลต ตัวอักษรทั้งหมดใช้ ARIAL ด้านล่างเรียกว่า บูสเตอร์ ข้างบนเรียกว่า เฮดเดอร์ การจัดรูปภาพคือ ต้องจัดให้เต็มกรอบ คือ 500 พิกเซล ส่วนประกอบต่างๆ ต้องหามาใส่ ถ้าภาพ เล็กให้คลิกที่ภาพแล้วเลื่อนไปทางซ้าย ถ้าขี้เกียจก็จัดรูปเต็มไปเลย ด้านล่างต้องให้เรียบร้อย ถ้าไม่เรียบร้อยอาจารย์จะไม่ตรวจ การจะทำแอสเซจได้จะต้องทำตลอด และต้องทำสม่ำเสมอ จะต้องนำเว็บตัวเองไปโปรโมท ขึ้นหน้าเว็บไซต์ สำคัญคือ การจัดภาพ ซ้าย-ขวา แคปหน้าจอ ใช้คำสั่ง............?
Shift+Command+3 (ทั้งจอ) Shift+Command+4 (บางส่วน) ปรับความกว้างข้างบน 980 ข้างล่่าง 330 ถ้าพื้นเข้ม ตัวอักษรจะต้องอ่อน มันจะต้องตรงข้ามกัน ABOUT ME เกี่ยวกับฉัน ส(1) สืบค้น ส(2) สร้างสรรค์ตามสมมติฐาน ส(3) สรุป ภาพประกอบถ้าเรากำหนดความกว้างจะไม่พอดี คือต้องทำภาพ 577 พิกเซล มันจะได้พอดี เวลาใส่ลงไปหลายรูปเราจะต้องแก้ไขให้มันอ่านง่าย

       การบ้าน 
       นำผลิตภัณฑ์ที่เราหามาได้มาต่อยอดและทำการพัฒนาโดยการออกแบบเพิ่มเติม นำมาวิเคราะห์จุดบกพร่องต่างๆ หาจุดด้อยของสินค้าที่เราจะทำ อาทิเช่น โลโก้ของสินค้า ฟอนต์ที่ไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ผลิตภัณฑ์แบรนด์ "วลัยลักษณ์"


ผลิตภัณฑ์สมุนไพรโอทอปของจังหวัด สิงห์บุรี

ผู้ประกอบการ แบรนด์ "วลัยลักษณ์"
สบู่สมุนไพรและน้ำยาซักผ้าสมุนไพร

เจ้าของผลิตภัณฑ์แบรนด์ "วลัยลักษณ์"

ชื่อ คุณวลัยลักษณ์ นุสสรา อายุ 50 ปี
ตำแหน่ง แพทย์ประจำตำบลบางน้ำเชี่ยว
ประสบการณ์ทำงาน 2 ปี
ที่อยู่ 34/2 หมู่ที่ 6 หมู่บ้าน โพธิ์เอน ตำบล บางน้ำเชี่ยว 
อำเภอ พรหมบุรี จังหวัด สิงห์บุรี 16120
โทรศัพท์ 084-3106949


























ที่ปรึกษา คุณพี่โอ่ง 




บันทึกการลงพื้นที่หาข้อมูล วันที่ 13 สิงหาคม 2558

ลงพื้นที่หาข้อมูล ผลิตภัณฑ์ "สมุนไพร" ประจำจังหวัด สิงห์บุรี

       เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ตัวแทนกลุ่มได้ลงพื้นที่สำรวจผลิตภัณฑ์โอทอปจังหวัดสิงห์บุรี ที่งาน "ศิลปาชีพประทีปไทยโอทอปก้าวไกลด้วยพระบารมี ครั้งที่ ๔ " ณ อาคารชาเรนเจอร์ฮอล์ อิมแพ็คอารีน่าเมืองทองธานี และได้ไปสำรวจที่ซุ้มสินค้าของสิงห์บุรี พร้อมหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของแต่ละชุมชนที่เป็นตัวแทนในการแสดง










บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 (11 สิงหาคม 2558)


วิสาหกิจ

       “วิสาหกิจชุมชน” อาจจะเป็นคำใหม่ที่หลาย ๆ คนยังไม่เข้าใจ และเข้าใจผิดไปว่าเป็นการช่วยเหลือของภาครัฐในด้านการสนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพเหมือนหลาย ๆ โครงการที่ผ่านมา ซึ่งวิสาหกิจชุมชน เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่ขนานไปกับเศรษฐกิจกระแสหลัก อันเนื่องมาจากว่าเศรษฐกิจกระแสหลักก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างรายได้ของประชาชนและก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย
        วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นจากการนำเอาแนวทางเศรษฐกิจชุมชนหรือแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” นั้นสามารถใช้คำว่า “ธุรกิจชุมชน” แทนได้ อันเนื่องมาจากว่าชุมชนไม่ใช่รัฐ ดังนั้นสถาน-ประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของก็ต้องจัดว่าเป็นของภาคเอกชนเช่นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าหากใช้คำว่าธุรกิจนั่นก็หมายถึงการแสวงหากำไรเป็นที่ตั้ง แต่สถานประกอบการที่ชุมชนเป็นเจ้าของนั้นกลับมีแนวคิดที่เน้นการพึ่งพาอาศัยกันมากกว่าการแสวงหากำไร ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า “วิสาหกิจชุมชน” เช่นเดียวกับ “รัฐวิสาหกิจ” ที่หลายคนรู้จัก โดยวิสาหกิจชุมชนนั้นจัดเป็นกลุ่มกิจกรรมของชุมชนที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้ ไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ ที่ทำเพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ และไม่ใช่กิจกรรมที่ซับซ้อนอะไร ล้วนแล้วแต่เป็นการทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดได้ และเป็นการจัดการระบบการผลิตและบริโภคที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การจัดการเรื่องข้าว หมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ น้ำยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน หรืออื่น ๆ ที่ชุมชนทำได้เองโดยไม่ยุ่งยากนัก การทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อเป็นการลดรายจ่ายและยังช่วยให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่เข้มแข็งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการจัดระบบเศรษฐกิจใหม่ให้เป็นฐานที่เป็นจริงในชุมชน เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเปรียบเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนเสาเข็มของตึกที่ทำให้ตึกมั่นคงแข็งแรงเศรษฐกิจของประเทศก็จะเข้มแข็งและอยู่ได้ ที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจในประเทศเปรียบเหมือนการสร้างตึกที่มีฐานแคบ ถ้าฐานไม่แข็งแรง ตึกก็พังลงมา ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงมีความสำคัญในการสร้างฐานมั่นคงให้กับประเทศได้ โดยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าให้เข้มแข็งและกระจายโอกาสการประกอบอาชีพให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
       “วิสาหกิจชุมชน” จัดเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ไม่มีรูปแบบ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การสนับสนุนจึงไม่เป็นระบบและไม่มีเอกภาพ ส่งผลให้มีปัญหาในการดำเนินงานเพราะวิสาหกิจชุมชนบางแห่งไม่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชน และบางครั้งมีการสนับสนุนจากภาครัฐแต่ไม่ตรงความต้องการที่แท้จริง พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 จึงได้ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
       ในการแบ่งประเภทของวิสาหกิจชุมชน สามารถมองได้หลายมิติ กล่าวคือ แบ่งตามลักษณะการประกอบการเป็นหลัก และแบ่งตามการจัดระดับและขั้นตอนการพัฒนาการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน

ประเภทของวิสาหกิจชุมชน

       การแบ่งตามลักษณะการประกอบการเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
       1. วิสาหกิจชุมชนพื้นฐาน เป็นการผลิตเพื่อการใช้ในท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งมีอยู่ 5 อย่าง คือ ข้าว อาหาร สมุนไพร ของใช้ ปุ๋ย ซึ่งอยู่ในขีดความสามารถของชาวบ้านทั่วไปจะทำได้ เป็นของต้องกินต้องใช้ประจำวัน มีมูลค่ามากกว่าครึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งปีของ แต่ละครัวเรือน แต่ชาวบ้านทั่วไป ไม่ว่าอยู่ใกล้เมืองหรือไกลเมืองต่างก็ซื้อกินซื้อใช้
       2. วิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า เป็นวิสาหกิจชุมชนที่สามารถนำออกสู่ตลาดใหญ่ ได้เพราะมีลักษณะเฉพาะตัว มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น บางอย่างอาจมีสูตรเด็ดเคล็ดลับหรือคุณภาพดีในระดับมาตรฐาน สามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทั่วไปได้ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ก็คือหนึ่งในวิสาหกิจชุมชนก้าวหน้า
       ส่วนการแบ่งตามการจัดระดับและขั้นตอนการพัฒนาการประกอบการของวิสาหกิจชุมชน สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้
       1. ระดับครอบครัว คือ วิสาหกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง เป็นการประกอบกิจกรรมเพื่อกินใช้ในครอบครัว เพื่อทดแทนการพึ่งพาจากภายนอก เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรไว้ใช้กินในครอบครัว
       2. ระดับชุมชนและเครือข่าย คือ วิสาหกิจชุมชนแบบพอเพียง เป็นการประกอบกิจการ โดยกลุ่ม เพื่อตอบสนองการอุปโภคบริโภคในชุมชนและเครือข่าย ซึ่งสามารถที่จะพัฒนาให้เป็นวิสาหกิจชุมชนแบบก้าวหน้าได้ เพื่อที่จะแข่งขันกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าทั่วไปได้
       ทั้งนี้การประกอบการวิสาหกิจชุมชนไม่ได้เน้นเพื่อกำไรสูงสุด แต่จะเน้นที่การลดค่าใช้จ่าย การสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกและคนในชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน


ความหมายของคำว่า การออกแบบอัตลักษณ์,ฺBRAND,เครื่องหมายและสัญลักษณ์


       การออกแบบอัตลักษณ์ หมายถึง การผสมผสานของโทนสี การออกแบบคำ ที่สร้างภาพลักษณ์และการสื่อสารปรัชญาการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อให้เป็นที่จดจำของบุคคลทั่วไป ซึ่งแตกต่างจากภาพลักษณ์ (มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก), เช่นอาคาร, ตกแต่ง, โลโก้, ชื่อ, สโลแกน, เครื่องเขียน, เครื่องแบบ เป็นต้น มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร







       การออกแบบอัตลักษณ์องค์กร (The Corporate Identity Design) คือ แนวทางหนึ่งของธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีพลัง อันหมายถึงความคิดแบบ 360 องศาครบถ้วนทุกมิติ เพื่อภาพรวมขององค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีเอกภาพผ่านการออกแบบนั่นเอง
ความจำเป็นอย่างหนึ่งของการสร้างสรรค์อัตลักษณ์องค์กรก็คือ การวางแผนคิดครอบคลุมครบถ้วนจนสามารถทำให้องค์กรขับเคลื่อนอย่างมีทิศทาง เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ผู้นำรุ่นใหม่ที่สามารถมองภาพรวม และภาพบนอย่างครอบคลุม (BIRD EYE VIEW) จนส่งผลให้ธุรกิจ, องค์กรต่างๆเหล่านั้น มีแบรนด์ที่สมบูรณ์ ยั่งยืนถึงลูกหลานส่งผลต่อการจดจำภาพลักษณ์ได้ง่ายดาย


       แนวทางการออกแบบภาพลักษณ์องค์กร ประกอบด้วยกระบวนการดังนี้
       1. การระดมสมององค์กร เพื่อหาแนวร่วมอันเป็นเอกภาพจากทุกอนูขององค์กร ทุกองค์ประกอบในแบบ 360 องศาอาจจะปฏิบัติการในรูปแบบการวิจัยขึ้นมาก่อน มีการวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พฤติกรรมผู้บริโภค แนวโน้มทางการผลิตจนสามารถหาดีเอนเอชัดเจน และแตกต่างจากธุรกิจอื่นๆ อย่างชัดเจน
       2. การสร้างสรรค์สัญลักษณ์แห่งเอกภาพ เริ่มต้นการออกแบบจากข้อมูลรอบทิศจนสามารถกำหนดเป็นกุญแจสำคัญของโครงการ จากจุดที่เล็กที่สุดที่พร้อมจะแตกตัวและขยายสู่ภาพรวมที่ใหญ่ที่สุดขององค์กร ซึ่งเป็นไปทั้งกายภาพที่สัมผัสได้ ตลอดจนเนื้อหาสาระ ความคิด แนวทางนโยบาย สะท้อนสู่รูปแบบของตราสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เครื่องหมายการค้า สีประจำองค์กร ขยับสู่ธีมและแนวคิดเฉพาะทางขององค์กร
       3. การแตกตัวของอัตลักษณ์องค์กร จากจุดเริ่มต้นเดียวที่มีเอกภาพ สามารถแตกตัวสู่องค์ประกอบต่างๆ ไปพร้อมกัน โดยอยู่ในร่มแห่งความคิดเดียวกัน ครอบคลุมทุกเรื่อง ตั้งแต่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบกราฟิก การออกแบบวัสดุและพื้นผิว การกำหนดสี การออกแบบเครื่องแต่งกาย ของที่ระลึก เครื่องประดับ การออกแบบป้าย รหัสสัญลักษณ์สื่อความหมายต่างๆ การออกแบบเครื่องเรือน การออกแบบบรรยากาศภายในคณะมัณฑนศิลป์ การออกแบบสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม เป็นต้น โดยสามารถบ่งบอกได้ว่าทุกเรื่องเกิดจากต้นกำเนิดเดียวกันแตกตัวไปในทิศทางที่ควบคุมได้อย่างมีคอนเซ็ปต์
        4. ก่อเกิดมูลค่ามหาศาล ความคิดที่แตกตัวออกไปจากต้นกำเนิดแห่งอัตลักษณ์ ก่อให้เกิดแบรนด์และทิศทางองค์การ ก่อเกิดกระบวนการคิดและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างมากมายมหาศาล ที่สามารถสร้างมูลค่าได้ แต่ต้องผ่านการสร้างสรรค์จากหลายมิติให้เหมาะสมกลมกลืนกัน มีรูปแบบที่สามารถมีสุนทรียภาพ รสนิยมก่อเกิดคุณภาพ และคุณค่าให้กับองค์กร




       Brand หรือ แบรนด์ (ตราสินค้า) คือ แบรนด์ ไม่ใช่แค่เพียงชื่อสินค้า ไม่ใช่แค่เพียง Logo ไม่ใช่แค่เพียงโฆษณา และไม่ใช่แค่รูปแบบของตัวบรรจุภัณฑ์เท่านั้น ความหมายของ แบรนด์ จาก ผู้รู้ทางโฆษณา Mr. Jack Trout กล่าวไว้ว่า ตราสินค้า หรือ Brand -แบรนด์ คือความรู้สึก หรือ ความประทับใจโดยรวมต่อสินค้ายี่ห้อนั้นๆ ที่ถูกสร้างขึ้นภายในจิตใจของผู้บริโภค ทั้งจากการโฆษณา ประสบการณ์การใช้สินค้า ภาพลักษณ์ขององค์กร และบุคลากรจากสินค้าและการบริการ รวมถึง ประสบการณ์ใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของแบรนด์นั้น



       การสร้างตราสินค้า (Branding) แบรนดิ้ง
หลักของ การสร้างแบรนด์ ที่กระชับและเข้าใจง่ายที่สุดมี 2 ระดับ
       1. การกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของสินค้า (Positioning)
       2. การสร้างความแตกต่างทางด้านความรู้สึก และอารมณ์ (Differentiation)
       ในการสร้าง Brand ที่ดีนั้น เราจะต้องรู้จุดแข็ง คุณสมบัติพิเศษที่แตกต่าง (Unique selling proposition) ของเรา จากนั้นนำเสนอมันออกมาบอกให้คนได้รับรู้ก่อนคู่แข่ง ยืนหยัดในการมีจุดยืนอย่าเปลี่ยนแปลง
       ทฤษฎี positioning ข้อสำคัญคือ เป็นที่หนึ่งในใจของผู้บริโภค เพราะ คนส่วนใหญ่จะจดจำสิ่งแรกที่เข้ามาใจได้เสมอ
       สิ่งสำคัญที่เจ้าของ แบรนด์ ต้องทราบถึง คือ
       1. ทราบถึงกลุ่มเป้าหมาย
       2. ทราบถึงจุดแข็ง และคุณประโยชน์ที่แตกต่างจากสินค้าอื่น ๆ


       ภาพลักษณ์กับเอกลักษณ์ การสร้างเอกลักษณ์ต้องมีภาพลักษณ์เข้ามาเกี่ยวข้องแต่ภาพลักษณ์อย่างเดียว ไม่สามารถสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้
       การสร้างแบรนด์มีหลายกลยุทธ์ แต่กลยุทธ์ที่แนะนำคือ การสร้างแบรนด์แบบมี เอกลักษณ์โดยที่เอกลักษณ์นั้น ๆ จะต้องโดดเด่น แตกต่างมีข้อได้เปรียบ และเป็นจุดยั่งยืน มิฉะนั้นการสร้างแบรนด์ก็จะเป็นการลงทุนระยะสั้นและสิ้นเปลือง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการสร้างแบรนด์ที่จะต้องเป็นการลงทุนในระยะยาว และต้องครอบคลุมทั้งในด้านภาพ เสียง และ พฤติกรรม
       การสร้างแบรนด์อย่างเป็นระบบ เริ่มจากการหาจุดยืนที่แตกต่างของแบรนด์ + บุคลิกภาพของแบรนด์ = เอกลักษณ์ของแบรนด์
       ในกระบวนการสร้างแบรนด์นั้น องค์ประกอบด้านพฤติกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เอกลักษณ์แบรนด์ไม่ได้มีแค่การออกแบบโลโก้ แต่ต้องมีการถ่ายทอดในทุกกิจกรรมของแบรนด์ ซึ่งเป็นตัวการสร้างความผูกพันระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง



       ความหมายของสัญลักษณ์ สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น
       สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร อาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้นภาษามือจึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน

       ประเภทของเครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนคุ้มครอง
       พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2543 ให้ความคุ้มครองเครื่องหมาย 4 ประเภทคือ
       1.1 เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นเครื่องหมายเกียวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายนั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
       1.2 เครื่องหมายบริการ หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นเครื่องหมาย หรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของ เครื่องหมายบริการนั้น แตกต่างกับบริการที่ใช้ของบริการของบุคคลอื่น
       1.3 เครื่องหมายรับรอง หมายความว่า เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้ หรือจะใช้เป็นเครื่องหมาย หรือเกียวข้องกับสินค้าและบริการกับบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรอง เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองเกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
       1.4 เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้ หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรใดของรัฐหรือเอกชน
       การได้มาซึ่งความคุ้มครอง
ความคุ้มครองเครืื่องหมายการค้า มิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เจ้าของเครื่องหมายการค้า จะต้องนำเครื่องหมายการค้าที่คิดขึ้น ไปทำการจดทะเบียนเสียก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
       เครื่องหมายการค้ามีประโยชน์ยังไง 
       ด้านเจ้าของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้ามีประโยชน์ในการที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ หรือเรียกขานสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นได้ และไม่สับสนกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นๆ
      ด้านผู้บริโภค เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ที่จะใช้เครื่องหมายการค้า กับสินค้าที่จะใช้เครื่องหมายการค้าอื่นๆ และเครื่องหมายการค้าจะทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะสินค้า ที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้น จากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นๆ และเครื่องหมายการค้าอื่นๆ และเครื่องหมายการค้าจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้า ที่มีคุณภาพตามต้องการ รวมทั้งทราบถึงตัวเจ้าของเครื่องหมายการค้าด้วย
       ลักษณะของเครื่องหมายที่จดทะเบียนได้ 
       ลักษณะเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมที่จดทะเบียนได้ จะต้องประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการคือ 
       2.1 มีลักษณะบ่งเฉพาะ คือ ลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจว่าสินค้าที่ใช้นั้นแตกต่างจากสินค้าอื่น เช่น รูปหรือคำที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นลายมือชื่อหรือภาพของผู้เป็นเจ้าของ เป็นต้น 
       2.2 ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น ธงชาติ เครื่องหมายราชการ พระบรมฉายาลักษณ์ เป้นต้น
       2.3 ไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนนั้น จะต้องไม่เหมือนกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นไดจดทะเบียนไว้แล้ว หรือคล้ายกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสน หรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดสินค้า โดยพิจารณาจากคำ เสียงเรียกขาน หรือรูปภาพ และการประดิษฐ์ของเครื่องหมาย เป๋นต้น
       อายุความคุ้มครอง เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว มีอายุความคุ้มครอง 10 ปี เมื่อครบกำหนดสามารถที่จะต่ออายุได้เป็นคร่าวๆคราวละ 10 ปี